เมนู

เตือนตนด้วยตนเองแล แล้วจึงถึงที่สุดแห่งกิจของบรรพชิต " ดังนี้แล้ว
เมื่อจะทรงแสดงธรรม ได้ทรงภาษิตพระคาถาเหล่านี้ว่า :-
10. อตฺตนา โจทยตฺตานํ ปฏิมํเสตมฺตนา
โส อตฺตคุตฺโต สติมา สุขํ ภิกฺขุ วิหาหิสิ.
อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ อตฺตา หิ อตฺตโน คติ
ตสฺมา สญฺญม อตฺตานํ อสฺสํ ภทฺรํว วาณิโช.
" เธอจงตักเตือนตนด้วยตน, จงพิจารณาดูตน
นั้นด้วยตน, ภิกษุ เธอนั้นมีสติ ปกครองตนได้แล้ว
จักอยู่สบาย. ตนแหละ เป็นนาถะของตน, ตน
แหละ เป็นคติของตน; เพราะฉะนั้น เธอจงสงวน
ตนให้เหมือนอย่างพ่อค้าม้า สงวนม้าตัวเจริญฉะนั้น."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โจทยตฺตานํ ความว่า จงตักเตือน
ตนด้วยตนเอง คือจงยังตนให้รู้สึกด้วยตนเอง.
บทว่า ปฏิมํเส คือตรวจตราดูตนด้วยตนเอง.
บทว่า โส เป็นต้น ความว่า ภิกษุ เธอนั้นเมื่อตักเตือนพิจารณา
ดูตนอย่างนั้นอยู่, เป็นผู้ชื่อว่า ปกครองตนได้ เพราะความเป็นผู้มีตน
ปกครองแล้วด้วยตนเอง เป็นผู้ชื่อว่า มีสติ เพราะความเป็นผู้มีสติตั้งมั่น
แล้ว จักอยู่สบายทุกสรรพอิริยาบถ.
บทว่า นาโถ ความว่า เป็นที่อาศัย คือเป็นที่พำนัก (คนอื่นใคร
เล่า พึงเป็นที่พึ่งได้) เพราะบุคคลอาศัยในอัตภาพของผู้อื่น ไม่อาจเพื่อ
เป็นผู้กระทำกุศลแล้ว มีสวรรค์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า หรือเป็นผู้ยังมรรค